ถ้าพูดถึง เจ้าพ่อพญาแล แล้ว ไม่มีคนชัยภูมิคนไหนที่ไม่รู้จัก เพราะเป็นผู้ที่สร้างเมืองชัยภูมิจนเป็นเมืองที่เข้มแข็งมั่นคง และชาวชัยภูมินั้นเชื่อว่า พวกเขาคือลูกหลานของเจ้าพ่อพญาแล ที่พากันอพยพจากเมืองเวียงจันทน์
ความเชื่อ เจ้าพ่อพญาแล ของคนจังหวัดชัยภูมิ
ในทุกปี จะมีการทำพิธีบายศรี บวงสรวงเจ้าพ่อพญาแล ที่หอบูชาเจ้าพ่อพระยาแลที่บ้านคนทรง ที่บ้านคนทรงจะมีเครื่องบูชาเจ้าพ่อพระยาแลเหมือนกันทุกบ้าน
ได้แก่ รูปหล่อเจ้าพ่อพระยาแล ดาบ 1 เล่ม บายศรี ขันธ์ห้า ขันธ์แปด ดอกไม้ ธูปเทียน พวงมาลัย รูปปั้นช้างม้า ข้าทาสบริวาร
ไม่ใช่แค่ที่บ้านคนทรวงเท่านั้น หากแต่ที่บ้านของชาวชัยภูมิเอง ก็จะมีเจ้าพ่อพญาแล อยู่ในบ้าน ไม่ว่าจะเป็นรูปภาพ เหรียญ รูปหล่อ ผ้ายันต์ ประจำอยู่ที่หอบูชาในบ้านของตนเอง
นั่นก็คือ การกราบไหว้ขอพร ขอโชคลาภ หรือขอให้ช่วยขจัดปัดเป่าเภทภัย ความเจ็บป่วยให้พ้นไปก็สามารถกราบไหว้ หรือทำพิธี หรือเพียงแค่ตั้งจิตระลึกถึงเจ้าพ่อพญาแล กันที่บ้านได้เลย
แต่ก็มีเรื่องที่ต้องห้ามไม่ให้ขอเลยก็คือเรื่อง ขอไม่ให้ติดทหาร เพราะเจ้าพ่อพญาแล นั้น ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าเมืองที่มีใจเด็ดเดี่ยว ยอมตายไม่ยอมสยบ จึงถูกเจ้าอนุวงศ์ ของเวียงจันทน์ จับประหารชีวิตที่ริมหนองปลาเฒ่า
ต่อมาก็มีการสร้างศาลเพียงตาเพื่อรำลึกถึงความกล้าหาญของเจ้าพ่อพญาแลไว้ที่ตรงนั้น ตั้งแต่ปี 2369
เรื่องเล่าตำนานเจ้าพ่อพญาแล
เรื่องเจ้าอนุวงศ์ ที่ยกทัพข้ามโขงมาแล้วจนมาจับเจ้าพ่อพญาแลประหารนั้น มีอยู่ว่า แต่เดิมเวียงจันทน์นั้นเป็นเมืองขึ้นแก่กรุงเทพฯ แต่ช่วงที่เจ้าพ่อพญาแล พาผู้คนอพยพมาจากเวียงจันทน์
แรกๆ ก็มาตั้งรกรากอยู่ที่เมืองนครราชสีมา จากนั้นก็ขยับมาสร้างเมืองอยู่ที่ชัยภูมิ ซึ่งเดิมก็ยังไม่ได้ชื่อว่า ชัยภูมิ แต่ที่ได้ชื่อนี้มาว่ากันว่า เป็นเพราะเจ้าพ่อพญาแล ไปขุดเจอทอง
แล้วส่งไปบรรณาการให้เวียงจันทน์ทางเวียงจันทน์เลยตั้งชื่อเมืองให้ว่า ชัยภูมิ แล้วตั้งให้เจ้าพ่อพญาแลเป็นพญาภักดีชุมพล
แต่ต่อมานี้มีเรื่องเล่าเป็นสองทาง ทางหนึ่งเล่าว่า ทางเวียงจันทน์ ระแวงว่า ชัยภูมิจะเป็นอื่น เลยยกพลมาปราบ ก็ไล่ปราบเมืองนั้นเมืองนี้ ฆ่าเจ้าเมืองไปเรื่อย จนมาถึงชัยภูมิ ก็จับพญาภักดีชุมพลประหาร แต่ยิงฟันไม่เข้า เลยใช้ไม้หลาวแหลมแทงทวารจนเสียชีวิต
เจ้าพ่อพญาแล ร่วมทัพกับ ย่าโม
และยังมีอีกทางหนึ่งเล่าว่า พญาภักดีชุมพล ไปขอทางเวียงจันทน์ว่า จะไม่ส่งส่วยให้แล้ว ต่อไปนี้จะส่งให้กรุงเทพฯ แทน เพราะเวียงจันทน์ก็ขึ้นกับกรุงเทพฯ อยู่แล้ว เจ้าอนุวงศ์
ก็เลยก่อกบฏยกทัพไล่ลุยเข้ามาถึงโคราช เจ้าพ่อพญาแล ก็ไปร่วมมือกับคุณหญิงโม ( ย่าโม ) ไล่ตีทัพเจ้าอนุวงศ์ จนถอยร่นไป ทางเจ้าอนุวงศ์ จึงวกไปทางชัยภูมิ ไปจับเอาเจ้าพ่อพญาแล ประหาร
แต่ที่มีการบันทึก กบฏเจ้าอนุวงศ์นั้นเป็นเพราะจะแยกตัวเป็นเอกราช ไม่ขึ้นตรงกับกรุงเทพฯ และไม่พอใจพระยาพรหมภักดี เจ้าเมืองโคราช
เอกสารจากเวียงจันทน์ ระบุว่าชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนมาอยู่โคราชนั้นร้องเรียนไปยังเวียงจันทน์ว่า ถูกโคราชข่มเหง ก็เลยทำให้เจ้าอนุวงศ์ ยกทัพมากวาดต้อนชาวลาวที่เมืองโคราช และที่สระบุรีกลับไป
ก่อนที่จะถูกเจ้าอนุวงศ์ประหาร ทางการกรุงเทพฯ ได้แต่งตั้งให้เจ้าพ่อพญาแล เป็นพระยาภักดีชุมพล อยู่แล้ว และทางกรุงเทพฯ ก็เชื่อว่า เจ้าอนุวงศ์ยกทัพใหญ่มาก็เพื่อมาโจมตีกรุงเทพฯ
แต่เหตุที่ทำให้เจ้าอนุวงศ์ไม่เดินทัพมาถึงกรุงเทพฯ น่าจะเป็นเพราะวีรกรรมที่ทุ่งสัมฤทธิ์ เมื่อชาวโคราชที่ถูกทัพจากลาวกวาดต้อนจะเอาไปอยู่เมืองเวียงจันทน์ลุกฮือขึ้นมาไล่ฆ่าทหารลาวไปเป็นจำนวนมาก
ชื่อเสียงของคุณหญิงโม หรือ ย่าโม ในทุกวันนี้ก็เริ่มต้นที่ทุ่งสัมฤทธิ์แห่งนี้ วีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ น่าจะเป็นเหตุให้เจ้าอนุวงศ์เปลี่ยนใจ ไม่ไปกรุงเทพฯ หันไปไล่เก็บเมืองต่างๆ
ในภาคอีสานให้สยบยอม แต่เมื่อมาถึงเมืองชัยภูมิ เจ้าพ่อพญาแล ผู้เป็นเจ้าเมืองไม่ศิโรราบ จึงถูกประหารชีวิต เล่าสืบต่อกันมาด้วยว่า การรำผีฟ้า ที่เมืองโคราช และชัยภูมินั้น ก็เป็นเจ้าพ่อพญาแล เป็นผู้นำพิธีนี้มาจากเวียงจันทน์
ให้ชาวบ้านได้ประกอบพิธี เพื่อให้ผีฟ้าได้ปกป้องคุ้มครองคนในเมืองชัยภูมิ ปัจจุบัน ทั้งที่โคราชและชัยภูมิ ก็ยังคงรักษาประเพณีรำผีฟ้านี้ไว้อย่างต่อเนื่อง
ศาลเจ้าพ่อพระยาแล จังหวัดชัยภูมิ
ศาลเจ้าพ่อพระยาแล (ศาลหนองปลาเฒ่า) เป็นเสมือนอนุสาวรีย์ของพระยาภักดีชุมพล เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจชาวเมืองชัยภูมิ ในทุกๆ ปี ช่วงกลางเดือน 6 ก่อนวันวิสาขบูชา จะมีงานบวงสรวงบายศรีศาลเจ้าพ่อพระยาแล
ก็จะมีเครื่องเซ่นสังเวย เพื่อขอให้พญาแล ช่วยปกปักรักษาให้อยู่เย็นเป็นสุข ให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล นอกจากเครื่องเซ่นที่นำไปถวายแล้ว ก็จะมีการรำผีฟ้า ลำกลอนฉลอง คนเมืองชัยภูมิจะเรียกประเพณีนี้ว่า งานบุญเดือน 6
ชาวบ้านที่ไปกราบไหว้ขอพร เมื่อสำเร็จตามที่หวัง ก็มาแก้บนด้วยหัวหมูและข้าวเหนียว ล่าสุด เมื่อกลางปี 2564 มีคู่สามีภรรยาเอาหัวหมู 100 หัวไปแก้บนเจ้าพ่อพญาแล หลังจากถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1
ทางการกรุงเทพยกย่อง พระยาภักดีชุมพล (แล) ให้เป็นเป็นสัญลักษณ์ของความกล้าหาญ ความจงรักภักดีต่อแผ่นดิน จนให้มีคำขวัญของจังหวัดชัยภูมิว่า “ชัยภูมิ เมืองผู้กล้าพระยาแล”
ศาลเจ้าพ่อพญาแล แต่เดิมนั้นชาวบ้านช่วยกันสร้างเป็นศาลเพียงตา ทำจากไม้ อยู่ใต้ต้นมะขามใหญ่ ริมหนองปลาเฒ่า สร้างปี 2369 หลังจากที่เจ้าพ่อพระยาแล ถูกเจ้าอนุวงศ์จับประหาร จนมาปี พ.ศ.2511
จึงสร้างศาลใหม่เป็นคอนกรีต แล้วก็ปี 2535 ก็รื้อศาลไม้ของเก่าออก แล้วสร้างศาลคอนกรีตขึ้นมาพากันเรียกว่า ศาลบวงสรวง
ส่วนอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพระยาแล
กลางสี่แยกถนนหฤทัยกับถนนบรรณาการ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ ที่ฐานอนุสาวรีย์จารึกว่า “พระยาภักดีชุมพล (แล) เจ้าเมืองชัยภูมิคนแรก พ.ศ. 2360-2369
เป็นผู้ที่ซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อบ้านเมือง ได้สร้างเมืองชัยภูมิและพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญขึ้นเป็นลำดับ ชาวชัยภูมิได้พร้อมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ของท่านไว้เป็นที่ระลึกเมื่อ พ.ศ. 2508”
บทความที่เกี่ยวข้อง
ประวัติศาสตร์เก่าแก่ของ กรุงศรีอยุธยา ” พระธาตุศรีสองรัก “